วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

มัลติมีเดียพีซี

จากความหมายของคำว่า มัลติมีเดียตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่มีการติดตั้งระบบมัลติมีเดียเข้าไปด้วย เรียกกันโดยทั่วไปว่า มัลติมีเดียพีซี” (Multimedia Personal
Computer: MPC) ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 5 ส่วน ดังนี้
เครื่องพีซี (Personal Computer : PC)
เครื่องอ่านซีดีรอม (CD-Rom Drive)
ซาวนด์การ์ด (Sound Card หรือ Sound Board)
ลำโพงภายนอก (External Speaker)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) 

เครื่องพีซี (Personal Computer :PC)
เครื่องพีซีถือเป็นหัวใจของระบบงานด้านมัลติมีเดีย โดยไมโครโพรเซสเซอร์ที่ใช้จะต้องมีประสิทธิภาพ
ในด้านความเร็วของสัญญาณนาฬิกา (Clock Speed) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นเครื่องที่ออกแบบมา
เพื่อใช้งานด้านมัลติมีเดียจะยิ่งมีประสิทธิภาพในการประมวลผลสัญญาณภาพ และเสียงดีกว่า
ไมโครโพรเซสเซอร์ทั่วๆ ไป เช่น ซีพียูตระกูล MMX ของ Intel เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีหน่วยความ
จำของเครื่อง (Ram) มากพอที่จะใช้เก็บไฟล์ภาพที่มีขนาดใหญ่ได้และติดตั้งแผงวงจรเร่งความาเร็วการ
ประมวลผลภาพกราฟฟิค (Graphic Accelerator Board) นอกจากนี้ ยังต้องมีโครงสร้างทาง
สถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับอุปกรณ์ต่อพ่วง (Peripheral Devices) ที่มีอัตราการสื่อสารข้อมูลที่
รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพียงพอ ที่จะใช้จัดการเกี่ยวกับภาพและเสียงได้อย่างต่อเนื่องและราบรื่น
โดยไม่เกิดอาการกระตุกและมีสล็อตขยายที่แผงวงจรหลักเพียงพอสำหรับการต่อขยายระบบหรือ
อุปกรณ์สำหรับต่อพ่วงในอนาคต รวมทั้งมีหน่วยจัดเก็บข้อมูลสำรอง ซึ่งได้แก่ ฮาร์ดดิสก์หรืออุปกรณ์
ชนิดอื่นๆ ที่มีขนาดความจุสูงและยังต้องมีจอภาพสีและแผงวงจรควบคุมการแสดงผลจอภาพที่สามารถ
แสดงภาพที่มีความละเอียดสูง





เครื่องอ่านซีดีรอม (CD-ROM Drive)
เครื่อง อ่านซีดีรองนับว่าเป็ฯส่วนประกอบที่สำคัญในการจัดเก็บข้อมูลและการนำเสนองาน ด้านมัลติมีเดียคุณสมบัติพื้นฐานของเครื่องซีดีรอมก็คือ ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล รวมทั้งอัตราการส่งถ่ายข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการเกี่ยวกับภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำเสนอภาพเคลื่อนไหวที่ต้องแสดงผลของแต่ละภาพอย่าง ต่อเนื่อง โดยไม่ปรากฎอาการภาพสะดุดหรือกระตุกที่เกิดจากการที่เครื่อง คอมพิวเตอร์ดึงข้อมูลภาพจากหน่วยจัดเก็บข้อมูลช้ากว่าการแสดงภาพ การเลือกใช้เครื่องอ่านซีดีรอมจะพิจารณาจากจำนวนเท่าในการอ่านข้อมูล เช่น 52 เท่าหรือ 52x ซึ่งหมายถึงอัตราการส่งถ่ายข้อมูลทีได้จากการอ่านซีดีรอมนั่นเอง แผ่นซีดีรอมขนาด 5.25 นิ้วแต่ละแผ่นจะสามารถบันทึกข้อมูลได้ถึง 700 MB(โดยประมาณ) หรือบันทึกสัญญาณเสียงได้นานประมาณ 80 นาที แต่ถ้าเป็นแผ่นซีดีรอม ขนาดเล็ก 8 ซม. จะสามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 185 MB หรือบันทึกสัญญาณเสียงได้นาน 21 นาที ปัจจุบันได้มีการผลิตเครื่องอ่านซีดีรอม โดยใช้เทคโนโลยีดีวีดี (DVD ย่อมาจาก Digital Video Disc)ทำให้แผ่นดีวีดีรอมแต่ละแผ่นสามารถบันทึกข้อมูลแบบความจุสูง(high Density) ได้ถึง 9.4 GB จุด เด่นของเครื่องอ่านดีวีดีรอมก็คือ สามารถอ่านข้อมูลจากทั้งแผ่นดีวีดีแผ่นซีดีปกติได้ ในขณะที่เครื่องอ่านซีดีรอมไม่สามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นดีวีดีรอมได้ และพัฒนาการของเครื่องอ่านดีวีดีรอมยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันมีการผลิตเครื่องอ่านแบบคู่ที่มีศักยภาพรองรับการอ่านและการเขียน แผ่นซีดีและดีวีดีภายในเครื่องเดียว ซึ่งอำนวยความสะดวกในการทำงานมากยิ่งขึ้น 


 
ซาวนด์การ์ด (Sound Card หรือ Sound Board)
ซาวนด์การ์ด (Sound Card หรือ Sound Board) หรือ แผงวงจรเสียงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของมัลติมีเดียพีวี มีหน้าที่หลักในการเก็บบันทึกเสียง และแสดงผลเสียงจากโปรแกรมสำหรับงานด้านมัลติมีเดียโดยสามารถทำการบันทึก เสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ เช่น ไมโครโฟน เครื่องดนตรีหรือแหล่งกำเนิดเสียงอื่นๆ จากนั้นจะทำการแปลงสัญญาณให้อยู่ในรูปแบบของดิจิตอล ซึ่งสามารถเก็บไฟล์เสียงไว้ในหน่วยจัดเก็บข้อมูลสำรอง โดยสัญญาณดิจิตอลจากไฟล์เสียงเหล่านี้จะส่งกลับไปยังซาวนด์การ์ด เพื่อแปลงสัญญาณให้เป็นแบบอนาล็อก ทำให้สามารถได้ยินเสียงจากไฟล์ที่ทำการนำเข้าหรือบันทึกนั้นได้ด้วยอุปกรณ์ แสดงผลทางเสียง เช่น ลำโพง หูฟัง
 

ลำโพงภายนอก (External Speaker)
ลำโพงภายนอก (External Speaker) เป็น ส่วนสำคัญที่สนับสนุนให้มัลติมีเดียคอมพิวเตอร์สามารถเล่นเสียงระดับไฮไฟที่ มีคุณภาพได้ นอกจากความสามารถในการจัดการด้านเสียงของซาวนด์การ์ดแล้วปัจจุบันได้มีผู้ ผลิตลำโพงภายนอกที่มีขีดความสามารถที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังเพิ่มคุณภาพในหลายระดับด้วยกัน เช่น ระดับธรรมดา ระดับคุณภาพสูงที่ประกอบด้วยทั้งลำโพงเสียงแหลม ลำโพงเสียงกลางและลำโพงเสียงทุ้ม เป็นต้น คล้ายกับระบบเครื่องเสียงชั้นดีทั่วไป ลำโพงภายนอกจึงจัดว่าเป็นส่วนประกอบพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับมัลติมีเดียพีซี เนื่องจากการถ่ายทอดเสียงที่ชัดเจนและต้องครอบคลุมย่านความถี่เสียงได้หลาก หลาย จนกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบมัลติมีเดียในยุคปัจจุบันที่ขาดไม่ได้ 

 



ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
ซอฟต์แวร์ ประยุกต์เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับจัดการด้านมัลติมีเดีย ภายใต้โปรแกรมระบบปฏิบัติการที่ทำงานสัมพันธ์กับเครื่องพีซีและอุปกรณ์ ประกอบ สามารถจำแนกซอฟต์แวร์ประยุกต์ตามลักษณะงานได้ 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ 1)ซอฟต์แวร์ประยุกต์ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย (ApplicationSoftware for Multimedia Computer Assisted Instruction) เช่น Icon Author, Toolbook และ Macromedia Authorware เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมนี้สามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า 
โปรแกรมระบบสร้างสื่อการสอน 2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ประเภทนำเสนองานมัลติมีเดีย (ApplicationSoftware for Multimedia Presentation) เช่น Macromedia Director MX, Shockwave และ Macromedia Flash MX เป็นต้น สำหรับองค์ประกอบทั้ง 5 ส่วน ของมัลติมีเดียพีซีตามที่ได้มาข้างต้น นับได้ว่าเป็นส่วนประกอบขั้นพื้นฐานของมัลติมีเดียพีซีที่สนับสนุนการใช้งาน ด้านมัลติมีเดียทั่วไป หากต้องการพัฒนางานมัลติมีเดียเฉพาะทาง เช่น ทำวีดีโอจำเป็นต้องขยายขีดความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยอุปกรณ์ต่อ พ่วงพิเศษ เช่น ติดตั้งแผงวงจรจัดการเกี่ยวกับภาพเคลื่อนไหว (Video Capture Board) ติดตั้งเครื่องบันทึกและเล่นภาพวิดีโอ (Video Tape Recorder) เป็นต้น


สถานการณ์มัลติมีเดียพีซีในปัจจุบัน

  เครื่องมัลติมีเดียพีซีนับวันจะมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์มากขึ้น เนื่องจาก
มนุษย์ได้นำ  เครื่องมัลติมีเดียพีซีเข้ามาเป็นเครื่องมือสำหรับการทำงานอำนวยความสะดวกในการ
ผลิตสื่อ และการแสดงผล จากผลการสำรวจและวิจัยของบริษัท IDC (International Data
Corporation) พบว่าการเติบโตของตลาดเครื่องมัลติมีเดียพีซีได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลอันเนื่องมาจากเครื่องพีซีมีราคาถูกลงนขณะที่มีความสามารถและสมรรถนะสูงขึ้นทำให้เครื่อง
มัลติมีเดียพีซีได้รับความนิยามอย่างรวดเร็วและแพร่หลายมากยิ่งขึ้น

         ด้วยขีดความสามารถที่เพิ่มขึ้นของเครื่องมัลติมีเดียพีซีที่สามารถรองรับและสนับสนุนการทำงาน
ได้หลายระบบ (Platform) ไม่ว่าจะใช้ในลักษณะของระบบเดี่ยว(Standalone System) หรือระบบ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์(Computer Network System) เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี
ขนาดใหญ่ระดับมินิคอมพิวเตอร์ขึ้นไปแล้ว การลงทุนด้วยเครื่องมัลติมีเดียพีซีย่อมจะถูกกว่า ส่งผลให
้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่อง
มัลติมีเดียพีซีที่มีความรวดเร็วในการประมวลผล การติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ทั้งภาพนิ่ง
ภาพเคลื่อนไหว เสียง ข้อความหรือแม้แต่วิดีโอได้พร้อมๆ กันและการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารได้คราวละ
มากๆ รวมถึงการแสดงผลบนจอภาพได้อย่างละเอียดและสวยงามมากยิ่งขึ้น สำหรับรูปลักษณ์และ
ส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องมัลติมีเดียพีซีในปัจจุบัน แสดงได้ดังตารางข้างล่างนี้

      ส่วนคุณสมบัติทางเทคนิคของเครื่องมัลติมีเดียพีซีปัจจุบัน มีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ฮาร์ดแวร์
MPC ปัจจุบัน
ซีพียู (CPU)
Pentium IV หรือไมโครโพรเซสเซอร์ที่เทียบเท่าความเร็ว
ระหว่าง
3-3.5GHz.
แรม (RAM)
ขนาด 256 MB – 1 GB
ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
ขนาด 20-120 GB
การ์ดเสียง (Audio Card)
64 bit Stereo with MIDI
การ์ดวิดีโอ (Video Card)
32-64 MB Video RAM,การ์ดรองรับงาน 3 มิติ
- ความละเอียด (Resolution)
1024 x 768
- ความลึกของสี (Color Dept)
True Color (64 bit)
ซีดีรอม (CD-ROM)
-
ความเร็วในการอ่าน (Read Speed)
-
ความเร็วในการบันทึก (Write Speed)

52X
52X
ดีวีดี (DVD)
30 Hours (สำหรับเล่นวิดีโอต่อเนื่องได้นาน 30 ซม.)
โมเด็ม (Modem)
ADSL
คีย์บอร์ด (Keyboard)
Keyboard Multimedia Control

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

องค์ประกอบของมัลติมีเดีย

มัลติมีเดียสามารถจำแนกองค์ประกอบของสื่อต่างๆ ได้เป็น 5 ชนิด ประกอบด้วย ข้อความหรือตัวอักษร
(Text) ภาพนิ่ง (Still Image) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และภาพวิดีโอ (Video)
แล้วนำมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อใช้สำหรับการปฏิสัมพันธ์หรือโต้ตอบ (Interaction) ระหว่าง
คอมพิวเตอร์กับผู้ใช้ซึ่งถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ผู้ใช้สามารถเลือกกระทำต่อมัลติมีเดียได้ตามต้องการ
ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้ได้ทำการเลือกรายการและตอบคำถามผ่านทางจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์
จากนั้นระบบคอมพิวเตอร์ก็จำทำการประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ย้อนกลับผ่านทางจอภาพให้ผู้ใช้เป็น
อีกครั้ง เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีการปฏิสัมพันธ์ในรูปแบบอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเครื่องมือและรูปแบบที่จะนำมา
ประยุกต์ใช้งาน ตัวอย่างเช่น การสร้างปุ่มเมนูหรือข้อความที่มีสีแตกต่างจากข้อความปกติ เมื่อผู้ใช้
มีปฏิสัมพันธ์กับส่วนนี้ ระบบก็จะเชื่อมโยงไปยังส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้ง ข้อความ
ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงหรือวิดีโอ ตามที่ได้มีการออกแบบไว้ล่วงหน้าแล้ว ดังนั้น จึงถือได้ว่า
การปฏิสัมพันธ์ในมัลติมีเดียเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าส่วนอื่นๆ สำหรับหัวข้อย่อยของ
เนื้อหาส่วนนี้ ประกอบด้วย
1. ข้อความหรือตัวอักษร (Text)



2. ภาพนิ่ง (Still Image)



3. ภาพเคลื่อนไหว (Animation)



4. เสียง (Sound)



5. ภาพวิดีโอ (Video)

ความหมายของมัลติมีเดีย

เมื่อกล่าวถึงคำว่า “มัลติมีเดีย”(Multimedia) มักจะมีความหมายที่ค่อนข้างกว้างไกล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ที่จะนำมัลติมีเดียไปใช้งานตามความต้องการ ในมุมมองของนักการศึกษา อาจหมายถึง การนำสื่อหลากหลายประเภทมาใช้จัดทำเป็นสื่อการเรียนการสอน มุมมองของผู้เยี่ยมชมอาจหมายถึงการนำเสนอสิ่งที่น่าสนใจที่ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น แต่ในมุมมองของคนทำงานด้านผลิตสื่อ อาจหมายถึง การโต้ตอบและการปฎิสัมพันธ์กันระหว่างคนกับคอมพิวเตอร์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความหมายที่กล่าวว่ามาทั้งหมดนั้นเป็นเพียงแค่แนวความคิดในแต่ละมุมมองเท่านั้น

โดยทั่วไปคนมักจะกล่าวถึงความหมายของคำว่า “มัลติมีเดีย” โดยมุ่งเน้นไปที่สื่อที่ใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง สื่อประเภทอื่นๆ เช่น เครื่องโทรทัศน์และวิทยุก็จัดได้ว่าเป็นมัลติมีเดีย เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ยังจัดเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมที่ใช้สำหรับการผลิตสื่อ การนำเสนอและการติดต่อสื่อสารมากที่สุด เนื่องจากมีขีดความสามารถและรองรับการทำงานได้หลากหลาย จึงทำให้คำจำกัดความของมัลติมีเดียมักจะมุ่งเน้นไปที่คอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่

สำหรับคำว่า “มัลติ” (Multi) หมายถึง หลายๆ อย่างผสมรวมกัน (ซึ่งมีศัพท์ที่ใกล้เคียงกัน เช่น Many,Much และ Multiple) ส่วนคำว่า “มีเดีย” (Media) หมายถึง สื่อ ข่าวสาร ช่องทางการติดต่อสื่อสาร เมื่อนำมารวมกันเป็นคำว่า “มัลติมีเดีย” จึงหมายถึง “การนำองค์ประกอบของสื่อชนิดต่างๆ มาผสมผสานเข้าด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย ตัวอักษร (Text) ภาพนิ่ง (Still Image) ภาพเคลื่อนไหวหรืออนิเมชั่น (Animation) เสียง (Sound) และวิดีโอ (Video) โดยผ่านกระบวนการทางระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสื่อความหมายกับผู้ใช้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) และได้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์การใช้งาน

ความเป็นมาของมัลติมีเดีย

ปัจจุบัน มัลติมีเดียจัดว่าเป็นสื่ออีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมใช้งานกันอย่างแพร่ หลาย ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ (Product and Service Presentation) การเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์(E-learning) และการนำเสนอผลงานต่างๆ (Task Presentation) ตลอดจนใช้เป็นสื่อบันเทิง(Entertainment) ทั้งในครัวเรือนและอุตสาหกรรมในหน่วยการเรียนรู้นี้ มุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจถึงความหมาย องค์ประกอบ และประโยชน์ของมัลติมีเดีย และการสร้างงานมัลติมีเดียด้วยโปรแกรมทีเลือกใช้ เมื่อมองย้อนกลับไปในอดีตที่ผ่านมาจะพบว่าสื่อต่างๆ ที่พบเห็น ไม่ว่าจะเป็นข้อความหรือตัวอักษรที่เขียนไว้บนดินเหนียวหรือใบลาน เครื่องโทรทัศน์แสดงภาพที่เป็นสีขาวดำ เครื่องวิทยุกระจายเสียงได้เพียงระยะใกล้และมีเสียงแบบโมโนหรือแม้แต่ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ยังเป็นเพียงแค่เครื่องคำนวณตัวเลขซึ่งล้วนแล้วแต่ เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบมัลติมีเดียทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม มัลติมีเดียก็ยังคงได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันโดยมีการ เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับพัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ในบทเรียนนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้ถึงวิวัฒนาการความเป็นมาของมัลติมีเดีย ตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบัน และเพื่อให้เข้าใจถึงกรอบแนวคิดของระบบมัลติมีเดียตลอดจนสามารถอธิบายถึง ส่วนประกอบของมัลติมีเดียพีซีได้